วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ตำราคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น

ตำราคณิตศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้นความหมายของตำรา,หนังสือ
ตำรา น. แบบแผนที่ว่าด้วยหลักวิชาต่าง ๆ, ตํารับตําราก็ว่า. (ข. ฎํรา, ตมฺรา).
หนังสือ น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคําพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์ หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสาร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น
คู่มือ ว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สําหรับประจําตัว, เช่น อาวุธคู่มือ.  น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้ เพื่อใช้ประกอบตํารา เพื่ออํานวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. 
ที่มา: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ความสำคัญของหนังสือ
ขออัญเชิญพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๓ ณ หอประชุมคุรุสภา ตอนหนึ่งว่า“ข้าพเจ้าตระหนักดีว่า ประเทศไทยมีประชาชนจำนวนมากเห็นคุณค่าของหนังสือ ใฝ่ใจศึกษาหาความรู้และแนวคิด แล้วนำสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์จากหนังสือซึ่งเป็นที่รวมแหล่งสรรพวิชาการ ทั้งปวงมาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ประเทศนั้นย่อมจะมีแต่ความรุ่งเรืองวัฒนา เพราะทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ คือประชาชน การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้จะต้องมีองค์ประกอบคือ ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน และใช้สิ่งที่ได้จากการอ่านให้เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านการพัฒนาความคิด วางแผนและลงมือกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม และมีหนังสือดีๆ เป็นจำนวนมากพอ…ข้าพเจ้าหวังให้ประชาชนคนไทยส่วนมาก หรือทั่วประเทศเห็นความสำคัญของหนังสือและสนใจอ่านหนังสือเพื่อหาความรู้ เป็นประจำ แล้วนำไปคิดไปปฏิบัติ อันจะช่วยให้ประเทศของเราพัฒนายิ่งๆ ขึ้นทุกด้าน”
ที่มา เอกสารการสอนชุดวิชา ๑๒๓๐๖ พัฒนาการวรรณคดีไทยหน่วยที่ ๑๔ ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของวรรณคดีไทยตอนที่ ๑๔.๔ การส่งเสริมการแพร่ขยายของวรรณคดีไทยและวรรณกรรมร่วมสมัย (ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน)เรื่องที่ ๑๔.๔.๑ การศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมร่วมสมัยในถาบันการศึกษา หน้า ๙๓๘


ลักษณะของหนังสือที่ดี
ปัจจุบันนี้มีหนังสือมากมายหลายประเภทให้เลือกอ่าน การอ่านหนังสือเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตในทางสร้างสรรค์และดีงาม ผู้อ่านต้องรู้จักพิจารณาเลือกอ่านหนังสือที่ดี และต้องรู้จักหลักในการพิจารณาเลือกอ่านหนังสือ เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าแก่การอ่านมากที่สุด
หนังสือดีควรค่าแก่การอ่าน ควรมีลักษณะโดยทั่วไป ดังนี้
๑) มีความคิดดี
มีความคิดริเริ่มและความคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้อื่นเขียนสอดแทรกไว้ในหนังสือมีความคิดมุ่งให้ผู้อ่านรู้ และเห็นคุณค่าของคุณธรรม ความดีงาม ความถูกต้องและอื่นๆ ผู้อ่านสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์และความสุขได้ตาม ความเหมาะสม
๒) มีเนื้อหาสาระดี
หนังสือแต่ละประเภทย่อมมีเนื้อหาสาระแตกต่างกันไป แต่จะต้องมีเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ ไม่บิดเบือน ยั่วยุ หรือเพ้อฝันเกินความจริง มีข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะและคติสอนใจที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
๓) มีกลวิธีในการเขียนดี
มีกลวิธีในการเขียนดี คือ มีวิธีเขียนเหมาะกับประเภทหนังสือ และเนื้อหา การนำเสนอเรื่องราว
แนวทางในการพิจารณาเลือกหนังสือ
ผู้อ่านแต่ละคนจะเลือกอ่านหนังสือต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจ และจุดมุ่งหมายในการอ่านของผู้อ่าน อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านควรมีแนวทางในการพิจารณาเลือกหนังสืออ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตน เองมากที่สุด โดยพิจารณาตามหลักการดังนี้
๑)ตำราวิชาการและหนังสืออ้างอิงทางการศึกษา
เป็นหนังสือที่ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายให้ความรู้ด้านวิชาการโดยตรง ทั้งนี้อาจจะเสนอทฤษฎีเนื้อหาสาระอย่างกว้าง ๆ หรือเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง มีดังนี้
๑.๑) พิจารณาชื่อเรื่อง หนังสือมีเนื้อหาอย่างเดียววันอาจจะมีผู้เขียนไว้หลายเล่ม บางเล่มอาจจะตั้งชื่อไว้กลาง ๆ ทำให้เข้าใจง่ายแต่อาจจะซ้ำกันได้ ผู้อ่านต้องตรวจดูสารบัญเพื่อหาเล่มที่มีข้อมูลตามที่ต้องการแต่ถ้าหนังสือ ระบุชื่อเรื่องเฉพาะเจาะจงลงไปก็จะช่วยให้ผู้อ่านตัดสินใจเลือกหนังสือที่ ตรงกับความรู้ ความต้องการได้เร็วขึ้น
๑.๒) พิจารณาชื่อผู้แต่ง ผู้แต่งที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณได้รับการยกย่องจากวงการหนังสือ ส่วนมากจะพยายามสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า เพื่อรักษาชื่อเสียงของตน การเลือกอ่านหนังสือ ของผู้แต่งที่มีชื่อเสียง ได้รับการยกย่องในวงการหรือสาขาวิชานั้น ๆ จึงมักเชื่อถือได้
๑.๓) พิจารณาองค์ประกอบของหนังสือ ได้แก่ ส่วนเนื้อหาและส่วนช่วยค้นคว้า โดยส่วนเนื้อหาสามารถพิจารณาจากสารบัญ เพื่อดูการลำดับเนื้อหาว่าเป็นระบบหรือไร้ระบบ ความคิดและการเรียบเรียงไม่ชัดเจน ก็ไม่ควรเลือกอ่าน และส่วนช่วยค้นคว้า พิจารณาจากเชิงอรรถ บรรณานุกรม ดัชนี ภาคผนวก ประวัติผู้แต่ง และประวัติการพิมพ์ หากหนังสือเล่มใดมีส่วนช่วยค้นคว้ามากย่อมทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือ ผู้อ่านจะได้รายละเอียดของข้อมูลมากพอตามความประสงค์และช่วยให้ผู้อ่านเข้า ใจ เนื้อหาได้ง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้น
๑.๔) พิจารณาการใช้ภาษา ผู้อ่านควรอ่านตัวอย่างสัก ๒ - ๓ หน้า เพื่อสังเกตวิธีการเขียน และการใช้ภาษาว่าเหมาะสมกับแขนงวิชานั้น ๆ หรือไม่ นอกจากนี้ควรพิจารณาความถูกต้องของการสะกดคำ การเว้นวรรคตอน และการใช้ภาพประกอบด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น
๑.๕) พิจารณารูปเล่ม ผู้อ่านควรเลือกเล่มที่สมบูรณ์ โดยการสำรวจลักษณะของรูปเล่มตั้งแต่หน้าปก ใบรองปก คำนำ และสารบัญ แล้วพลิกดูเนื้อหาข้างในอย่ารวดเร็ว หากพบข้อบกพร่องก็ไม่ควรเลือกซื้อหรือเลือกอ่าน เพราะอาจไม่ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ต้องการ
ที่มา:www.thaigoodview.com/
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/utaradit/kanjana-c/thailand01/sec02p04.html
หลักเกณฑ์การเลือกสื่อการสอน
ในการเลือกสื่อการสอน ผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการเรียนให้แน่นอนก่อน เพื่อใช้วัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา เช่น
1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจและเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุดช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเนื้อหาวิชานั้นได้ดี เป็นลำดับขั้นตอน
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตสื่อที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองต้องคุ้มกับเวลาและการลงทุน
Carlton W.H. Erickson นักวิชาการทางด้านการใช้สื่อ กล่าวถึงเกณฑ์การเลือกสื่อการสอนดังนี้
1. สื่อการสอนมีประโยชน์ต่อหน่วยการสอนและมีกิจกรรมในการแก้ปัญหาหรือให้ประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
2. เนื้อหาวิชาที่จะสื่อความหมายด้วยการใช้สื่อการสอนนี้เป็นประโยชน์และสำคัญแก่นักศึกษาในชุมนุมและสังคมหรือไม่
3. สื่อการสอนมีความเหมาะสมกับจุดประสงค์ของการสอน หรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
4. สื่อการสอนช่วยให้มีการตรวจสอบระดับความแตกต่างของจุดประสงค์ของการสอน ในด้านเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและทักษะการฝึกปฏิบัติหรือไม่
5. สื่อการสอนช่วยให้นักศึกษาได้คิดตอบสนอง อภิปรายและศึกษาค้นคว้าหรือไม่
6. สื่อการสอนได้ช่วยแก้ปัญหาในการเรียนเนื้อหา และช่วยเสริมกิจกรรมนักศึกษาหรือไม่
7. สื่อการสอนช่วยให้การเสนอแนวคิดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
8. สื่อการสอนได้ช่วยในการเสนอเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับระดับอุณหภูมิ น้ำหนัก ความลึก ระยะทาง การกระทำกลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตและอารมณ์ได้ดีหรือไม่
9. สื่อการสอนมีความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
10. สื่อการสอนสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
11. สื่อการสอนช่วยให้แสดงถึงรสนิยมยินดีหรือไม่
12. สื่อการสอนสามารถใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่ ความรู้ในเนื้อหาในสื่อการสอนมีตัวอย่างมากพอหรือไม่
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหนังสือ/สื่อสิ่งพิมพ์
1. เนื้อหาสาระ หนังสือที่คัดเลือกไว้ในห้องสมุดให้พิจารณาในประเด็นหลักดังนี้ หากเป็นประเภทอ้างอิงหรือสารคดีจำเป็นต้องคำนึงถึงสาระที่ถูกต้องตามหลัก วิชาการ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความเป็นปัจจุบัน ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ หากเป็นประเภทบันเทิงคดีหรือส่งเสริมการอ่าน ควรมีเนื้อหาสาระรวมทั้งใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมจินตนาการ และศีลธรรมอันดีงาม ไม่เป็นพิษภัยต่อการอ่าน เหมาะสมกับวัย สนุกสนานเร้าความสนใจ จูงใจผู้อ่านให้เกิดความเพลิดเพลิน ก่อให้เกิดนิสัยรักการอ่านและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตได้
2. ความถูกต้องของข้อมูล มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับหนังสือประเภทอ้างอิง สารคดี และหนังสือวิชาการอื่น ๆ ตลอดจนหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามกลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ให้พิจารณาในเรื่องของความเที่ยงตรง ความน่าเชื่อถือ แหล่งที่มาของข้อมูล แหล่งค้นคว้า มีการอ้างอิงและมีบรรณานุกรมถูกต้องชัดเจน และได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย
3. ภาพประกอบของหนังสือ ควรพิจารณาด้านความถูกต้อง และเหมาะสมกับประเภทของหนังสือ ความสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ความชัดเจนของภาพ เหมาะสมกับวัย มีสีสันสวยงาม รวมทั้งมีสัดส่วนเหมาะสมกับหน้ากระดาษ
4. การใช้ถ้อยคำสำนวนภาษา ใช้ภาษาถูกต้อง สื่อความหมายได้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย เหมาะสมกับประเภทและเนื้อหาของหนังสือ รวมทั้งวัยของผู้อ่าน กรณีหนังสือทางวิชาการ คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ ถ้ามีการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยแล้ว ควรใช้ภาษาไทยและกำกับด้วยภาษาอังกฤษ
5. ความถูกต้องตามอักขรวิธี ภาษาที่ใช้ในหนังสือประเภทต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามอักขรวิธี เช่น การใช้ตัวสะกด การันต์ คำควบกล้ำ เป็นต้น รวมทั้งการใช้คำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม สรรพนาม อักษรย่อ เป็นต้น ใช้ภาษาพูด ภาษาเขียนได้ถูกต้องตามสถานการณ์ของเรื่องนั้น ๆ และเหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน
6. ราคาหนังสือ การพิจารณาราคาหนังสือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้านปริมาณและคุณภาพของ หนังสือ โดยพิจารณาจากชนิดของกระดาษ ขนาด จำนวนหน้า รูปแบบ และเทคนิคการผลิต ภาพประกอบ ความยากง่ายในการเก็บข้อมูลและเนื้อหา
7. ส่วนลดของราคาหนังสือ หนังสือที่จัดซื้อส่วนใหญ่จะได้รับส่วนลด ควรนำส่วนลดดังกล่าวมาจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหนังสือเล่มใดมีส่วนลดมากเป็นพิเศษควรพิจารณาให้รอบคอบ เพราะอาจจะทำให้ได้หนังสือที่ไม่มีคุณภาพ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไม่ทันสมัย
8. องค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากการพิจารณาดังกล่าวมาแล้ว อาจมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ควรพิจารณา เช่น ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ จำนวนครั้งที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ มีส่วนประกอบของหนังสือครบถ้วน เป็นหนังสือที่ชนะการประกวดหรือผ่านการคัดเลือกโดยหน่วยงาน สถาบัน องค์กรต่าง ๆ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่สถานศึกษาพิจารณาตามความต้องการและความเหมาะสม
ที่มา : กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
การใช้หลักสูตรและสื่อ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การใช้หลักสูตร
• โรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 โรงเรียนต่อเขตพื้นที่
การศึกษา (1 ประถม 1 มัธยม และ 1 ขยายโอกาส) จำนวนรวม 185 เขต 555 โรงเรียน และ
โรงเรียนที่มีความพร้อมในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ใช้หลักสูตรดังนี้
o ปีการศึกษา 2552 ใช้หลักสูตร ป.1 – 6 ม.1 ม.4
o ปีการศึกษา 2553 ใช้หลักสูตร ป.1 – 6 ม.1 – 2 ม. 4 – 5
o ปีการศึกษา 2554 ใช้หลักสูตร ป.1 – 6 ม.1 – 2 – 3 ม. 4 – 5 – 6
• โรงเรียนทั่วไป เริ่มใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2553 ดังนี้
o ปีการศึกษา 2553 ใช้หลักสูตร ป.1 – 6 ม.1 ม.4
o ปีการศึกษา 2554 ใช้หลักสูตร ป.1 – 6 ม.1 – 2 ม. 4 – 5
o ปีการศึกษา 2555 ใช้หลักสูตร ป.1 – 6 ม.1 – 2 – 3 ม. 4 – 5 – 6


การใช้หนังสือเรียนและคู่มือครูที่ผลิตโดย สสวท.
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
• ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนสามารถใช้หนังสือเรียนและคู่มือครูที่มีอยู่เดิมของหลักสูตร 2544 ได้
• ปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป โรงเรียนสามารถใช้หนังสือเรียนและคู่มือครูของหลักสูตร 2544  ที่มีอยู่เดิม หรือใช้หนังสือที่ปรับปรุงเล็กน้อยสำหรับหลักสูตร 2551
แหล่งที่มา : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หนังสือของ สสวท. สำหรับ  หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
รายวิชาพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2553
1. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

4. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ปีการศึกษา 2554
1. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


4. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ปีการศึกษา 2555
1. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
รายวิชาเพิ่มเติม
ปีการศึกษา 2553
1. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
4. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1



ปีการศึกษา 2554
1. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

2. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

4. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ปีการศึกษา 2555
1. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มา : สสวท.
การวิเคราะห์เปรียบเทียบหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ ในประเด็นองค์ประกอบของเนื้อหาและรูปเล่มของหนังสือเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสิงคโปร์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเรียนคณิตศาสตร์และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยที่จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จำนวน 22 เล่ม หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของประเทศสิงคโปร์ที่จัดทำโดยสำนักพิมพ์ Marshall Cavendish ชื่อ New Mathematics Counts Secondary Normal (Academic) จำนวน 5 เล่ม และผู้ให้ข้อมูลในการประเมินความเหมาะสมของหนังสือเรียน คือ ผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาของไทย จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ตารางวิเคราะห์หนังสือเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบประเมินความเหมาะสมของหนังสือเรียน

ผลสรุป
1. หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยกำหนดองค์ประกอบของเนื้อหา จำนวนหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยและบทเรียน มากกว่าหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ การจัดลำดับเนื้อหาในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยและสิงคโปร์เหมือนกัน โดยเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยาก แต่ของประเทศสิงคโปร์จะสอนเนื้อหาแต่ละเรื่องให้จบภายในระดับชั้นเดียวกัน ขณะที่ของประเทศไทยกำหนดให้สอนเนื้อหาเดียวกันกระจายไปในหลาย ๆ ระดับชั้น แบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยและสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นการวัดความรู้ด้านความเข้าใจ และมีรูปแบบของการแสดงวิธีทำมากที่สุดเหมือนกัน แต่หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยมีคำอธิบายค่อนข้างยาวและใช้ภาษาที่ยากต่อการทำความเข้าใจของนักเรียนมากกว่าของสิงคโปร์
2. ด้านรูปเล่มของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ จำนวนหน้าของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยรวมทุกระดับชั้นมากกว่าของประเทศสิงคโปร์ กระดาษที่ใช้ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยมีทั้งกระดาษสีขาวและกระดาษรีไซเคิลสีน้ำตาล แต่ของประเทศสิงคโปร์ใช้กระดาษสีขาวทั้งหมด ตัวอักษรของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์ส่วนใหญ่ใช้ตัวอักษรสี ขณะที่ของประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้อักษรสีดำ ขนาดตัวอักษรของหนังสือเรียนของทั้งสองประเทศเท่ากัน และขนาดเล่มก็ใกล้เคียงกัน ภาพบนปกของหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยมีความหลากหลายกว่าของสิงคโปร์
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเรียนคณิตศาสตร์และครูผู้สอนเห็นว่าหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ของประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มีความเหมาะสมของเนื้อหา แบบฝึกหัด และการนำเสนอเนื้อหาไม่แตกต่างกัน
แหล่งที่มา : ธานี เครืออยู่  http://www.thaiedresearch.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น